เมื่อซื้อบ้านในโครงการจัดสรร โดยเฉพาะ บ้านทาวน์โฮม รั้วบ้านมักเป็นพื้นที่ที่ต้องใช้ร่วมกับเพื่อนบ้าน ซึ่งทำให้หลายคนเกิดคำถามว่า “รั้วนี้เป็นของใคร?” “หากพัง ใครต้องซ่อม?” “เปลี่ยนรั้วใหม่ได้ไหม?” การรู้จัก “ กฎหมายรั้วบ้าน ” จึงช่วยให้เรารู้สิทธิและหน้าที่ของตัวเอง ป้องกันปัญหาข้อพิพาทกับเพื่อนบ้าน
ทำไมต้องรู้จักกฎหมายรั้วบ้าน ? หลายคนจะมองว่ารั้วบ้านเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่ที่จริงแล้วก็เป็นเรื่องที่เป็นปัญหาหรือเกิดกรณีพิพาทกันมาหลายแห่งแล้ว โดยเฉพาะเมื่อต้องซ่อมแซมหรือว่าต้องการที่จะก่อสร้างใหม่ การรู้ กฎหมาย เกี่ยวกับ รั้วบ้าน ก็จะช่วยป้องกันปัญหาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ป้องกันข้อพิพาทกับเพื่อนบ้าน ป้องกันการผิดกฎหมายโดยไม่ได้ตั้งใจ ช่วยให้วางแผนซ่อมแซมและดูแลบ้านได้ง่ายขึ้น
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรั้วบ้าน สำหรับกฎหมายหลักที่เกี่ยวข้องกับรั้วบ้านโดยตรงก็คือ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งมีการระบุถึงการก่อสร้างอาคารและรั้วบ้าน ซึ่งหากว่าสร้าง ต่อเติม หรือซ่อมแซมของเราเข้าข่ายที่กฎหมายกำหนด ก็จะต้องขออนุญาตเจ้าพนักงานก่อน ไม่เช่นนั้นจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยมีข้อสำคัญของ กฎหมายรั้วบ้าน ภายในหมู่ บ้านจัดสรร ที่ควรรู้ดังนี้
เจ้าของรั้วบ้านคือใคร ? คำถามแรกที่หลายคนสงสัยเมื่อซื้อบ้านในหมู่บ้านจัดสรรก็คือ รั้วบ้านนั้นเป็นของใคร ซึ่งตามกฎหมายนั้นจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของรั้วเป็นหลัก โดยแบ่งได้เป็นกรณีหลัก ๆ ดังนี้
รั้วที่อยู่ในพื้นที่บ้านตนเอง เจ้าของบ้านเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมแซม หรือดูแลไม่ให้สร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น รั้วที่ใช้ร่วมกันกับเพื่อนบ้าน เช่น ในโครงการบ้านทาวน์โฮม หรือโครงการบ้านจัดสรรที่รั้วบ้านถูกสร้างขึ้นบนที่ดินของบ้านสองหลังที่อยู่ติดกัน ในกรณีนี้ถือว่าบ้านทั้งสองหลังเป็นเจ้าของร่วม ต้องดูแลร่วมกัน รั้วที่ติดกับถนนหรือทางสาธารณะในโครงการ เป็นความรับผิดชอบของเจ้าของบ้าน ซึ่งจะต้องไม่สร้างล้ำออกมาในที่สาธารณะ รั้วส่วนกลางของหมู่บ้าน เป็นทรัพย์สินร่วมกันที่โครงการต้องดูแล การซ่อมแซมรั้วบ้าน ใครต้องรับผิดชอบ ? เมื่อรู้ว่าใครเป็นเจ้าของรั้วบ้านแล้ว คราวนี้ก็เป็นเรื่องของการดูแลและซ่อมแซมว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งโดยหลักการแล้ว คนที่เป็นเจ้าของรั้วด้านไหน ก็ต้องเป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบค่าซ่อมแซม ดังนี้
รั้วที่ใช้ร่วมกับเพื่อนบ้าน เจ้าของบ้านทั้งสองฝั่งต้องออกค่าใช้จ่ายร่วมกัน รั้วที่อยู่ในเขตบ้านของตนเอง เจ้าของบ้านเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง รั้วหมู่บ้านที่อยู่บนที่ดินส่วนกลาง โครงการหรือนิติบุคคลหมู่บ้านเป็นผู้ดูแล หากเพื่อนบ้านไม่ยอมช่วยจ่ายค่าซ่อมแซมรั้วต้องทำอย่างไร ? ในกรณีที่รั้วที่ใช้ร่วมกันกับเพื่อนบ้านชำรุดเสียหาย ต้องซ่อมแซม แต่เพื่อนบ้านไม่ยอมออกเงิน แนะนำให้พูดคุยตกลงกันก่อน หากไม่ได้ผล สามารถขอความช่วยเหลือจากนิติบุคคลหมู่บ้าน หรือหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความช่วยเหลือได้
กฎหมาย กำหนดความสูงของ รั้วบ้าน ไว้อย่างไร ? โดยปกติแล้ว การสร้างรั้วบ้านไม่จำเป็นต้องขออนุญาตการก่อสร้าง แต่ก็มีข้อกำหนดบางประการที่ต้องรู้และดำเนินการขออนุญาตจากเจ้าพนักงาน ดังนี้
รั้วที่ติดกับบ้านเพื่อนบ้าน ไม่ได้กำหนดความสูงของรั้วไว้ที่ชัดเจน แต่หากว่าต้องการสร้างรั้วสูงเกิน 10 เมตร ต้องขอยื่นขออนุญาตจากหน่วยงานท้องถิ่น เนื่องจากจะถือว่าเป็น “อาคาร” ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 รั้วที่ติดถนนสาธารณะ ความสูงของรั้วต้องไม่เกิน 3 เมตร ไม่เช่นนั้นจะต้องยื่นขออนุญาตจากหน่วยงานท้องถิ่นเช่นเดียวกัน และหากบ้านอยู่บริเวณหัวมุมถนนต้องมีการปาดมุมเพื่อความปลอดภัย หากต้องการสร้างรั้วสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด สามารถทำได้หรือไม่ ? สามารถทำได้โดยยื่นขออนุญาตกับสำนักงานเขตหรือเทศบาลในพื้นที่ และต้องได้รับความยินยอมจากเพื่อนบ้านที่ได้รับผลกระทบ
หากต้องการสร้างรั้วส่วนที่ติดกับเพื่อนบ้านสูงขึ้น เพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัวสามารถทำได้หรือไม่ ? ควรตกลงกับเพื่อนบ้านให้เรียบร้อย และต้องทำบนที่ดินของตัวเอง ห้ามล้ำไปในเขตของเพื่อนบ้านเด็ดขาด
อยากสร้างรั้วใหม่ เปลี่ยนรั้วเดิมได้หรือไม่ ? ในกรณีที่ซื้อหมู่บ้านจัดสรรแล้วอยากเปลี่ยนรั้วใหม่ให้สวยหรือเป็นสไตล์ตามที่ต้องการ สามารถทำได้ แต่มีข้อจำกัดที่ควรต้องรู้ดังนี้
หากรั้วนั้นอยู่ในขอบเขตบ้านตัวเอง สามารถสร้างรั้วหรือเปลี่ยนแปลงได้เลย หากเป็นรั้วที่ใช้กับเพื่อนบ้าน ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของบ้านอีกฝั่ง และควรเซ็นสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อป้องกันข้อพิพาทในภายหลัง หากเป็นรั้วที่ติดถนนส่วนกลาง ต้องขออนุญาตจากนิติบุคคลหมู่บ้านหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากไม่ทำตามกฎหมายเกี่ยวกับรั้วบ้าน จะมีโทษหรือไม่ ? การฝ่าฝืน กฎหมายรั้วบ้าน หรือจงใจละเลย ก็อาจจะนำไปสู่การลงโทษทางกฎหมายได้เช่นเดียวกัน
ในกรณีสร้างรั้วสูงเกินกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต อาจถูกสั่งให้รื้อถอน หากต่อเติมรั้วบ้านโดยรุกล้ำพื้นที่เพื่อนบ้าน อาจถูกฟ้องร้องให้รื้อถอน และต้องชดเชยค่าเสียหาย หากรั้วบ้านมีปัญหาแต่ไม่ซ่อมแซม และพิสูจน์ได้ว่าเจ้าของละเลย หากรั้วพังล้มลงและสร้างความเสียหายให้บ้านข้างเคียง เจ้าของรั้วต้องเป็นผู้รับผิดชอบ อยากได้บ้านที่ไม่ต้องกังวลเรื่องรั้ว เรื่องโครงการทาวน์โฮมจากเมซัน หากคุณกำลังมองหาบ้าน ทาวน์โฮมโครงการใหม่ ที่มีการจัดสรรพื้นที่ รั้วบ้าน หรือระบบจัดการส่วนกลางได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขอแนะนำโครงการจาก Maison Development ที่คิดเผื่อให้คุณได้อยู่แบบสบาย ๆ
✅ รั้วบ้านและโครงสร้างถูกออกแบบตามกฎหมายครบถ้วน
✅ เดินทางสะดวก ใกล้ถนนหลัก
✅ บ้านฟังก์ชันดี มีพื้นที่ใช้สอยครบครันสำหรับทุกคนในครอบครัว
สนใจนัดหมายเข้าเยี่ยมชมโครงการเลย โทร 02-2953397-8
ข้อมูลอ้างอิง กฎหมายการสร้างรั้วบ้าน รู้ไว้ปลอดภัยกว่า. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2568 จาก https://reprohome.co.th/law-for-building-fence/ รั้วบ้าน รั้วที่ดิน สูงได้เท่าไหร่ ต้องสร้างแบบไหน. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2568 จาก https://www.baanlaesuan.com/209987/home-maintenance/fence-law/ กฎหมายการสร้างรั้วบ้าน ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2568 จาก https://www.ddproperty.com/